ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดวิธีการวัดเกณฑ์การประเมิน
วัตถุประสงค์ข้อที่ 1  พัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดที่ 1.1 ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน  – รวบรวมข้อมูลจากการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ก่อนและหลังการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน – การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) จากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชุน อาทิ โปรแกรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน กิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน เช่น ที่พัก ร้านอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ของชุมชน– ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน อย่างน้อยร้อยละ 10  
ตัวชี้วัดที่ 1.2 เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน– พัฒนาการท่องเที่ยวแบบเดิมเข้าสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน – เข้าร่วมกิจกรรมการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวนับได้เท่ากับศูนย์ หรือ ที่เรียกว่า Carbon Neutral อาทิ การชดเชยคาร์บอนสำหรับโปรแกรมท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อให้โปรแกรมท่องเที่ยวเป็น Carbon Neutral Tourism– เกิดต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน อย่างน้อย 4 เส้นทาง
วัตถุประสงค์ข้อที่ 2  พัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตต้นแบบสำหรับชุมชน  (โครงการบริหารจัดการขยะจากต้นทางโดยชุมชน บริหารจัดการขยะอินทรีย์ด้วยถังขยะเปียกลดโลกร้อน บริหารจัดการขยะรีไซเคิลด้วยตลาดนัดขยะชุมชน)
ตัวชี้วัดที่ 2.1 สามารถชดเชยหรือขายคาร์บอนเครดิต– เข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER  และการพัฒนาต่อยอดยกระดับโครงการการสู่การขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER กับ อบก. เพื่อสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิต  – ได้การรับรองคาร์บอนเครดิต TVERs จาก อบก.
ตัวชี้วัดที่ 2.2 การจัดการขยะเปียกระดับชุมชนมาเป็นกิจกรรมส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก  พัฒนาโครงการ T-VER จากโครงการจัดการขยะต้นทาง (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย) – เกิดชุมชนต้นแบบโครงการคาร์บอนเครดิตโดยชุมชนมีส่วนร่วม อย่างน้อย 10 หมู่บ้าน
วัตถุประสงค์ข้อที่ 3  ยกระดับชุมชนสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัดที่ 3.1 เกิดต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)– เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme) หรือโครงการ LESS การพัฒนาหรือดำเนินกิจกรรมให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชุมชน และยกระดับกิจกรรมดังกล่าวเพื่อขึ้นทะเบียนโครงการ LESS กับ อบก. เพื่อสร้างความตระหนักให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและยกย่องการทำความดีของชุมชน– เกิดชุมชนต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ อย่างน้อย 4 ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 3.2 เกิดศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ– พัฒนาสื่อ ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ บอร์ดนิทรรศการ สื่อสิ่งพิมพ์  สารสนเทศเว็บไซต์ วิดีทัศน์ ป้ายประชาสัมพันธ์– เกิดศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบชุมชนคาร์บอนต่ำ อย่างน้อย 4 ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 3.3 ชุมชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ– กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถาม หลังการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ– กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร้อยละ 80